วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ผัดเต้าหู้เสฉวน

     ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่าปลาทองตัวน้อยๆ หรือตาล เป็นแม่บ้านฝึกหัดค่ะ พอมีประสบการณ์ก้นครัว คือ ช่วยคุณแม่เตรียมของทำกับข้าว แกะหอม กระเทียม ล้างกระทะ ฯลฯ ทำให้ซึมซาบการทำอาหารมาบ้าง แต่มาหัดทำจริงๆ ก็ตอนแต่งงานค่ะ เพราะแฟนเป็นคนตัวใหญ่ ทานจุ หากซื้อเค้าตลอดก็คงไม่ไหว :))  เพื่อไม่ให้เสียเวลา โพสต์แรกนี้ขอเปิดตัวด้วยเมนูแรกที่หัดทำค่ะ

...มาโปโทฟู หรือ ผัดเต้าหู้เสฉวน...

เริ่มกันที่วัตถุดิบก่อนเลยนะคะ


1.หมูบด                            100-150     กรัม
2.กระเทียมสับ                            1       ช้อนโต๊ะ
3.ขิงสับ                                      1       ช้อนโต๊ะ
4.หอมใหญ่สับ                            1       ช้อนโต๊ะ
5.ต้นกระเทียมหรือเนหงิหั่น (ตอนนั้นตาลหาไม่ได้เลยใช้ต้นหอมแทนค่ะ)
6.เต้าหู้คินุ                                  1       แพค ให้หั่นเป็นเต๋ารอไว้เลยนะคะ


7.พริกเซี่ยงไฮ้ (ยี่ห้อรสสยาม)   1+1/2    ช้อนโต๊ะ   ตอนหลังหายี่ห้อนี้ไม่เจอเลยใช้ซอสเซี่ยงไฮ้แทนค่ะ
8.ซีอิ้วขาว                                      1/2    ช้อนโต๊ะ
9.โชหยุ                                          1/2    ช้อนโต๊ะ
10.ซอสหอยนางรม                         1      ช้อนโต๊ะ
11.น้ำมันงา                                     1       ช้อนชา
12.เหล้าจีน                                     1      ช้อนโต๊ะ
13.น้ำตาล                                     1/2     ช้อนชา
14.พริกไทย                                  1/2     ช้อนชา
15.น้ำ                                              1      ถ้วย
16.แป้งข้าวโพดหรือแป้งมัน             1     ช้อนชา






เมื่อเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้วเราก็มาลุยกันเลยยยยย

1.ตั้งกระทะใส่น้ำมัน ให้ใช้ไฟปานกลางนะคะ
2.นำกระเทียม ขิง และหอมใหญ่ ลงไปผัดจนสุก ระวังอย่าให้ไหม้นะคะ 


3.จากนั้นก็นำหมูสับลงไปผัดให้สุก พยายามยีๆ อย่าให้หมูเป็นก้อนนะคะ
4.ใส่พริกเซี่ยงไฮ้  ซีอิ้วขาว  โชหยุ  ซอสหอยนางรม  น้ำตาล  และพริกไทยป่น


5.จะได้สีออกแดงๆอย่างนี้ ตอนนี้ให้ใส่น้ำตามลงไป แล้วเร่งไฟแรงๆนะคะ 
6.ใส่เต้าหู้ที่หั่นเตรียมไว้ คนเบาๆ ให้เต้าหู้อยู่ในซอส ระวังอย่าให้เต้าหู้แตกค่ะ
7.ปล่อยให้เดือด พอน้ำงวดเหลือครึ่งนึงก็หรี่ไฟลงปานกลาง
8.ใส่แป้งข้าวโพดหรือแป้งมันที่ผสมน้ำเล็กน้อยลงไป พอให้เหนียว 
(คือถ้าเซียนแล้วไม่ต้องผสมน้ำก็ได้ โปรยลงไปให้มันกระจายๆ คนเบาๆ)
9.ใส่น้ำมันงา ใส่เหล้าจีน  ทีนี้จะหอมขึ้นมาเลยค่ะ
10.ใส่ต้นกระเทียม หรือเนหงิ หรือต้นหอม คน 2 ที ยกลงได้เลยค่ะ




...เสร็จเรียบร้อย มาโปโทฟูหรือผัดเต้าหู้เสฉวน...
กินกับข้าวสวยร้อนๆ อืมมมม



ขอบคุณที่ติดตามนะคะ ^__^


วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ท่องเที่ยวเชิงเกษตร...ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์

        ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ เป็นชุมชนที่อยู่อาศัยอยู่ติดแม่น้ำและมีความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำ

ลำคลองมาอย่างช้านาน จนเกิดเป็นวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆมากมาย ทั้งในมิติทางสังคม และสิ่งแวดล้อม

ซึ่งผู้คนในชุมชนยังสามารถที่ร่วมมือกันรักษา ขนบธรรมเนียม วิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสายน้ำดังกล่าวได้เป็น

อย่างดี อีกทั้งยังเป็นชุมชนที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี

โดยไม่กระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมมากนัก และมีการรักษาสิ่งแวดล้อมของลำคลองมหาสวัสดิ์ซึ่งเป็นคลอง

สายหลักไว้อย่างดี จนได้มีการร่วมมือกันของชาวบ้านทำให้เกิด

"การท่องเที่ยวเชิงเกษตรล่องเรือชมสวนคลองมหาสวัสดิ์"

เหล่านี้เองเป็นผลให้ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้เสริมจากการทำอาชีพเกษตรธรรมดา

กลับกลายเป็นเกษตรตัวอย่าง จากการที่เป็นชุมชนธรรมดากลับกลายเป็นชุมชนที่ผู้คนทั่วไปรู้จัก

และจัดให้มีการท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวมากมาย

ทั้งยังสามารถจัดการท่องเที่ยวโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านมากนัก

จึงเป็นชุมชนตัวอย่างที่ควรเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับความรู้ การจัดการ มิติทางสังคม และสิ่งแวดล้อม

เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับบริบทของชุมชน ^_^

ป้ายชื่อจร้า ^^ ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์

แผ่นที่...พร้อมจะไปกันหรือยังจ๊ะ

โดยจุดแรกที่เราอยู่คือวัดสุวรรณาราม ท่าขึ้นเรือจะอยู่ที่ร้านขายของชำ

เรือโดยสารลำหนึ่งสามารถไปได้ 6 คน ราคาเหมาลำ 360 บาท (อาจเปลี่ยนแปลงได้)


เรือโดยสารและพี่ชาวบ้านริมคลองมหาสวัสดิ์ ที่หมุนเวียนกันมาขับเรือรับจ้างพวกเรา


การเดินทางไปแต่ละจุดแวะนั้นจะเดินทางโดยเรือทั้งหมดเลยค่ะ

วิถีชีวิตของคนในชุมชนริมคลอง

จุดแวะที่ 1 นาบัว

ชาวบ้านที่นี่ประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่

โดยระหว่างทางไปนาบัวก็จะปลูกพืชผัก สมุนไพร แบบผสมผสานไปตลอดทาง



จุดแวะที่ 2 แหล่งเรียนรู้ชุมชน

ที่นี่จะมีการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านมาแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร ซึ่งก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู

สินค้าขึ้นชื่อ ได้แก่ ข้าวตังจากข้าวกล้องที่มาจากไร่ของเกษตรในชุมชน

มีซุ้มที่ให้เราทอดแผ่นข้าว ทาน้ำเชื่อม และโรยหน้าด้วยตัวเอง (ขอบอกว่าอร่อยมาก)

ถ้าใครถูกใจจะซื้อไปฝากคนที่บ้านก็ได้ หรือ หาซื้อได้ที่ร้านศิลปาชีพ 904


 จุดแวะที่ 3 สวนกล้วยไม้

ที่นี่มีกล้วยไม้สวยๆให้ชมมากมายเลยค่ะ ^^

จุดแวะที่ 4 สวนผลไม้ลุงบุญเลิศ

ที่นี่ก็มีผลไม้แปรรูปตามฤดูให้เลือกซื้ออีกแล้ว เช่น ผลไม้แปรรูป กล้วยแปรรูป (อร่อยมาก ^_^)

นอกจากนี้ยังมีผลไม้สดเตรียมให้ทานกันตรงนั้นเลย และมีคุณป้าเล่าเรื่องการทำสวนแบบเกษตรอินทรีย์

ก่อนที่ลุงบุญเลิศจะพาเรานั่งรถอีแต๋นเข้าไปในสวน (ช่วยลุงเติมน้ำมันคนละ 50 บาทค่ะ)

ระหว่างทางจะเป็นท้องร่องสวน มีทั้งส้มโอ มะพร้าว ฯลฯ เยอะไปหมดค่ะ

ของเตือนว่าต้องจับที่นั่งให้ดีดี ไม่อย่างนั้นรถอาจโยกเราตกลงท้องร่องได้ :)


สุดจากบริเวณสวน ก็เป็นที่นาของลุงบุญเลิศ สีเขียวขจี และอากาศก็สดชื่นมากค่ะ

แอบกระซิบว่าสวนของลุงบุญเลิศอยู่แค่ฝั่งตรงข้ามกับวัดสุวรรณารามเองค่ะ

หลังจากเราซื้อของกันเสร็จแล้วก็สามารถเดินข้ามสะพานกลับกันได้เลย


P.S. เพื่อนๆลองอ่านกันนะคะ ถ้ายังไงก็ช่วยกันแนะนำมือใหม่หัดเขียนด้วยค่ะ โดยจะพยายามให้อยู่ใน
       หัวข้อสิ่งแวดล้อมที่เรียนมาแล้วกันค่ะ

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ขยะอิเล็กทรอนิกส์

คุณรู้ไหมว่า...

อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยของคอมพิวเตอร์ในประเทศพัฒนาแล้วลดลงจาก 6 ปีในพ.ศ. 2540 เป็น 2 ปี

ในพ.ศ. 2548 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว โทรศัพท์มือถือมีวงจรชีวิตสั้นกว่า 2 ปี

ในพ.ศ. 2547 มีการขายคอมพิวเตอร์ 183 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากในพ.ศ. 2546

ในพ.ศ. 2547 มีการขายโทรศัพท์มือถือ 674 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 จากพ.ศ. 2546

ภายในพ.ศ. 2553 จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ใหม่ถึง 716 ล้านเครื่อง โดยจะมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ใหม่ 178 ล้านคนในจีน และ 80 ล้านคนในอินเดีย

แล้วขยะพวกนี้ไปอยู่ไหนกัน...

...

...


ที่ฝังกลบขยะ:
จากข้อมูลของกระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สหรัฐฯ มากกว่า 4.6 ล้านตันของขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำมาฝังกลบในสหรัฐฯ ในปี 2543 สารเคมีพิษที่อยู่ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้อาจรั่วไหลในผืนดิน หรือแพร่เข้าสู่บรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียง ประเทศต่างๆ ในยุโรปได้ออกมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปฝังกลบ เนื่องจากมีองค์ประกอบของวัสดุที่เป็นพิษ แต่ในหลายประเทศก็ยังมีการฝังกลบขยะเช่นนั้นต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ในฮ่องกง ประมาณกันว่าร้อยละ 10-20 ของคอมพิวเตอร์ที่ถูกทิ้ง จะถูกนำไปฝังกลบ

เตาเผาขยะ:
การเผาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโลหะหนักไม่ว่าจะเป็น ตะกั่ว แคดเมียม และสารปรอทเข้าสู่บรรยากาศและกลายเป็นเถ้าถ่าน สารปรอทที่แพร่เข้าสู่บรรยากาศจะสะสมตัวอยู่ในห่วงโซ่อาหาร โดยเฉพาะในตัวปลา ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญที่เผยแพร่สารปรอทไปสู่คนทั่วไป ถ้าสินค้าชนิดนั้นมีส่วนประกอบของพลาสติก PVC ก็จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของสารไดอ๊อกซินคลอไรด์และสารฟิวแรน สารทนไฟซึ่งทำจากโบรมีนก็จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของสารโบรไมเนตไดอ๊อกซินและสารฟิวแรน เมื่อมีการเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ชนิดนั้น

การนำมาใช้ใหม่:
การนำมาใช้ใหม่เป็นวิธีที่ดีเพื่อยืดอายุของสินค้า สินค้าที่เก่าหลายชิ้นถูกส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าประโยชน์จากการนำสินค้าเก่ามาใช้ใหม่ยังไม่ชัดเจน แต่การนำสินค้ามือสองมาใช้ก็ทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงขึ้นมาแล้ว เพราะหลังจากใช้งานได้เพียงไม่นานสินค้ามือสองเหล่านี้ก็จะถูกทิ้ง และดูเหมือนประเทศที่นำเข้าต่างก็ไม่มีความสามารถในการจัดการกับขยะอันตรายเหล่านี้ได้

รีไซเคิล:
แม้ว่าการรีไซเคิลจะเป็นวิธีที่ดีในการนำวัสดุของสินค้าเก่ามาใช้ใหม่ แต่ในขณะเดียวกันในกระบวนการรีไซเคิลก็อาจทำให้คนงานได้รับอันตรายจากสารเคมีในขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมในบริเวณใกล้เคียง
ในประเทศพัฒนาแล้ว การรีไซเคิลสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะมีในโรงงานรีไซเคิลที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเท่านั้นโดยมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด ยกตัวอย่างเช่น ในหลายประเทศในสหภาพยุโรป จะไม่มีการรีไซเคิลพลาสติกจากขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อหลีกเลี่ยงการปล่อยสารโบรไมเนตฟิวแรนและสารไดอ๊อกซินเข้าสู่บรรยากาศ แต่ประเทศกำลังพัฒนา จะไม่มีมาตรการควบคุมเช่นนี้และการแยกขยะเพื่อรีไซเคิลมักทำกันตามแหล่งทิ้งขยะต่างๆ และหลายครั้งจะมีเด็กมาแยกขยะด้วย

ส่งออก
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกส่งออกจากประเทศพัฒนาแล้วไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาอยู่เป็นประจำ และหลายครั้งเป็นการละเมิดอนุสัญญาบาเซล จากการตรวจสอบท่าเรือ 18 แห่งในยุโรปเมื่อปี 2548 พบว่า มากถึงร้อยละ 47 ของขยะเหล่านี้ซึ่งรวมทั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกส่งออกไปอย่างผิดกฎหมาย เฉพาะในอังกฤษ ขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 23,000 เมตริกตันถูกส่งออกอย่างผิดกฎหมายโดยไม่มีการระบุว่าเป็นสินค้าประเภทใดในปี 2546 ไปยังตะวันออกไกลไม่ว่าจะเป็นอินเดีย อัฟริกาและจีน ในสหรัฐฯ ประมาณกันว่าร้อยละ 50-80 ของขยะที่ถูกรวบรวมเพื่อการรีไซเคิล ก็จะถูกส่งออกไปในลักษณะเดียวกัน แต่การกระทำเช่นนื้ถือว่าถูกกฎหมายเพราะว่าสหรัฐฯ ไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาบาเซล
จีนแผ่นดินใหญ่พยายามจะปกป้องการค้าเช่นนี้ด้วยออกกฎหมายห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2543
อย่างไรก็ตามกรีนพีซพบว่ากฎหมายเหล่านี้ไม่มีการบังคับใช้จริงจัง โดยยังมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกส่งมาถึงเมืองกุ้ยหยา มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์รวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ในจีน
นอกจากนั้นยังพบว่าในอินเดียมีปัญหาเนื่องจากการค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เฉพาะในเมืองเดลีมีคนงาน 25,000 คนที่ทำงานตามแหล่งทิ้งขยะ ซึ่งต้องคัดแยกขยะ 10,000-20,000 ตันต่อปี โดยร้อยละ 25 ของขยะเหล่านี้เป็นคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังพบว่ามีแหล่งทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองมีรุต เฟโรซาบัด เชนไน บังกาลอ และมุมไบ